ข้อมูลสามารถแบ่งได้หลายลักษณะขึ้นกับว่าจะใช้เกณฑ์ใดในการแบ่ง
เช่น
.แบ่งตามแหล่งที่มา ได้เป็น 2 ประเภท
1.ข้อมูลปฐมภูมิ ( Primary Data)คือข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดที่ผู้เก็บข้อมูลลงมือเก็บด้วยตนเองได้มา จากแหล่งกำเนิดที่แท้จริง เช่น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง การทดสอบหรือการวัดจากกลุ่มตัวอย่างโดยตรง
2.ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือข้อเท็จจริง
หรือรายละเอียดที่ผู้อื่นรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ สามารถนำมาเป็นข้อมูล
โดยไม่ต้องลงมือเก็บรวบรวมเอง เช่น ข้อมูลจากระเบียนสะสม รายงานประจำปี สารานุกรม
เอกสารเผยแพร่ เป็นต้น
.แบ่งตามลักษณะของข้อมูล
1.ข้อมูลเชิงปริมาณ ( Quantitative Data) คือข้อมูลที่วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาต่าง ๆ ความถนัดด้านต่าง ๆ ที่วัดออกมาเป็นคะแนน คุณลักษณะด้านจิตพิสัย เช่นความสนใจ ความวิตกกังวล คุณลักษณะทางกายเช่น ส่วนสูง ความเร็วในการวิ่ง
2.ข้อมูลเชิงคุณลักษณะหรือเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือข้อมูลที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลขแต่จะแสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งนั้น เช่น เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ ศาสนา สถานภาพสมรส อาชีพ ข้อความที่เป็นความคิดเห็น ผลการสังเกตที่เขียนในรูปบรรยาย
.แบ่งตามสภาพของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มตัวอย่าง ได้ 3 ประเภทดังนี้
1.ข้อมูลส่วนบุคคล ( Personal Data) คือข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ชื่อสกุล อายุ เพศ อาชีพ ศาสนา เป็นต้น
2.ข้อมูลสิ่งแวดล้อม ( Environmental Data) คือข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ลักษณะท้องถิ่นที่กลุ่มตัวอย่างอาศัย
3.ข้อมูลพฤติกรรม ( Behavioral Data) คือข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในตัวของกลุ่มตัวอย่าง เช่น คุณลักษณะด้านความสามารถสมอง ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ หรือการเรียน เช่น ความรู้ความเข้าใจ การวิเคราะห์ ความถนัด สติปัญญา ความสนใจ ความวิตกกังวล แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มโนภาพเกี่ยวกับตนเอง การปฏิบัติ การกระทำสิ่งต่าง ๆ
.แบ่งตามการนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท
คือ
1. ข้อมูลตัวเลข (Numeric
Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นจำนวนตัวเลข สามารถนำไปคำนวณได้
เช่น
จำนวนเงินเดือนราคาสินค้า
2. ข้อมูลตัวอักษร
(Text Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร
และสัญลักษณ์เช่น ชื่อ สกุล ที่อยู่
3. ข้อมูลเสียง (Audio Data) ได้แก่
ข้อมูลที่เป็นเสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงพูด
4. ข้อมูลภาพ (Images
Data) คือ ข้อมูลที่เป็นจุดสีต่าง
ๆเมื่อนำมาเรียงต่อกันแล้วเกิดรูปภาพขึ้น
เช่น ภาพถ่าย ภาพลายเส้น
เป็นต้น
5. ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว
(Video Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวต่าง
เช่น ภาพ
เคลื่อนไหวที่ถ่ายด้วยกล้องวิดีโอ
หรือภาพที่ทำจากโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น
การรวบรวมข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน
การรวบรวมข้อมูลที่ดีจะได้ข้อมูลที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ครบถ้วน ดังนั้น
ความรวดเร็วของข้อมูลจึงผูกพันกับเทคโนโลยีซึ่งมีหลายวิธี
เช่นการใช้ไปรษณีย์อิเทคทรอนิกส์ การเชื่อมต่อกับระบบปลายทางเพื่อรับข้อมูล
การใช้โทรสาร การใช้ระบบอ่านข้อมูลอัตโนมัติ เช่น เครื่องกราดตรวจ( scaner ) อ่านข้อมูลที่เป็นรหัสแท่ง(
bar code)
แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/kruratipipatsri/phlk-ra-thb-cak-thekhnoloyi-sarsnthes
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น